ค้นหาสินค้า

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรถไฟจำลอง ตอนที่ 7

          ก่อนที่จะแนะนำขั้นตอนการวางราง Turn out ต้องทำความรู้จักและเลือกใช้รูปแบบ Turnout แต่ละแบบก่อนนะครับ แบ่งออกเป็น 4 แบบ
          1รางสับแยกซ้ายขวา
          2รางสับแยกสามทาง
          3รางสับแยกแบบกากบาท
          4รางสับแยกแบบโค้งแยก
          แต่ละแบบทางโรงงานจะผลิตมาแบบคู่ หรือแบบเดี่ยว ก็แล้วแต่ทางผู้ผลิต แม้กระทั่งมอเตอร์รางสับ บางโรงงานยังขายแบบแยกอีกต่างหาก บางโรงงานก็รวมเข้าด้วยกัน ก็แล้วแต่เลือกน่ะครับรางสับแยกแต่ละรุ่นก็จะมีทั้งแบบ แยกสั้นและแบบแยกยาว สมาชิกจะต้องดูให้ดีน่ะครับ โดยดูจากพื้นที่ที่จะวาง Layout ว่ามีมากน้อยแค่ไหน
แน่นอนรางสับแยกแบบยาว สามารถรองรับหัวจักรประเภทที่มี Truck 3 ล้อขึ้นไปสามารถใช้ได้สบายๆ แต่รางสับแยกแบบสั้นจะเหมาะกับ Layout ที่มีพื้นที่ค่อนข้างน้อยแต่จะรองรับหัวรถจักรที่มี Truck 2 ล้อ ส่วน 3 ล้อก็ขึ้นอยู่กับบางยี่ห้อน่ะครับ บางยี่ห้อไม่สามารถเข้ารางสับแยกแบบสั้นได้
          ที่สำคัญ ต้องเลือกรางที่มี Code (70,83,100) ชนิดเดียวกัน จะได้ง่ายต่อการเชื่อมรางน่ะครับ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็จะมีวิธีใช้ร่วมกันได้ จะมีเทคนิคการเชื่อมรางให้ทราบในคราวต่อๆ ไป
          ในปัจจุบันแทบจะทุกบริษัทจะผลิตรางแบบที่มี Roadbed มาให้พร้อมจึงไม่ต้องหาวัสดุมารอง แต่สมาชิกท่านใดมีรางรุ่นเก่าๆ จำเป็นต้องหาวัสดุมารองน่ะครับ ถึงจะดูสวย ช่วยเก็บเสียง ส่วนการวางราง turnout ก็ไม่มีอะไรยุ่งยากก็เหมือนกับการวางรางตรง แต่คอยระวังรางที่แยกน่ะครับ ต้องหาชิ้นส่วนรางที่แยกเมื่อต่อเข้าแล้ว ต้องทำรางที่แยกให้ได้ฉากก่อนแล้วจึงค่อยต่อรางตรง บางครั้งหาชิ้นส่วนรางที่ว่านี้ไม่ได้จริงๆ ก็สามารถหาราง Flex หรือรางโค้งสั้นมาต่อ แล้วทำเครื่องหมายช่วงที่รางตั้งฉาก แล้วหาเลื่อยฉลุมาเลื่อยนะครับ (ใบเลื่อยต้องหาใบเลื่อยที่มีฟันละเอียด) ก็จะได้ชิ้นส่วนรางนี้ตามความต้องการ รางสับแยกอื่นๆ ก็ทำตามที่ว่านี้ไปเรื่อยๆ
สำหรับสมาชิกที่ต้องการจะทำให้ขบวนรถไฟสามารถรอหลีกได้ จำเป็นต้องมีการตัดระบบไฟน่ะครับ ซึ่งจะกล่าวในโอกาสต่อไปเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า
          วิธีการต่อระบบไฟฟ้ารางสับครับ ให้สมาชิกสังเกตุดูที่แป้นมอเตอร์รางสับครับจะมีอยู่ 3 ขั้ว โดยที่ขั้วใดขั้วหนึ่ง จะเป็นขั้วลบเสมอแต่อีก2 ขั้วจะเป็นขั้วบวกแต่คนละข้างโดยเช็คง่ายๆ คือ (ต้องจำไว้ให้แม่นๆ ไฟฟ้าที่เข้ารางสับต้องเป็น AC 12-16 Volt เสมอน่ะครับ) เอาสายไฟที่ออกมาจากหม้อแปลง AC มาแตะที่ขั้วหนึ่งก่อน (โดยส่วนมากขั้วกลางจะเป็นขั้วลบ) แล้วเอาอีกสายหนึ่งมาแตะขั้วบวกถ้ารางสับทำงานแสดงว่าถูกต้อง จากนั้นย้ายสายขั้วบวกที่ว่านี้ไปแตะขั้วบวกอีกข้างหนึ่ง รางสับก็จะทำงานเช่นกัน แต่จะทำงานในฝั่งตรงข้าม ถ้าเช็คลักษณะนี้ทุกรางสับแล้วก็ทำการวางรางสับได้ตามความต้องการแล้วแต่สมาชิก (สวิชต์รางสับต้องใช้สวิชต์แบบกดปล่อยห้ามกดค้าง) ถ้าทางผู้ผลิตมีสวิชต์มาให้ก็สามารถใช้สวิชต์ของโรงงานได้เลย
          สุดท้ายนี้ หากสมาชิกท่านใดมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อทีมงานได้ที่ webmaster@trainsforthais.com หรือ ส่งข้อความมาที่ Webboard ทางทีมงานยินดีให้คำปรึกษา

 
 
รูปแบบรางสับแยกแบบต่างๆ มีทั้งแบบมีมอเตอร์ กับไม่มีมอเตอร
 

รูปแบบรางสับแยกแบบต่างๆ เมื่ออยู่บน Layout แบบมีมอเตอร์ กับไม่มีมอเตอร
 
ข้อมูลตอนที่ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7| ตอนพิเศษ(1) |(2) | (3) | (4)

ข้อมูลจากสมาชิกหมายเลข 056
โดยทีมงาน Trainsforthais
2 พฤษภาคม 2547

        จำนวนผู้ชม 1834 คน
www.trainsforthais.com
081-9345365