ตอนที่
4 ระบบไฟฟ้าขับเคลื่อนรถไฟจำลองในอดีต |
|||||||||||||
สำหรับในตอนนี้จะขอนำเสนอตั้งแต่เริ่มใช้หม้อแปลงระบบ
Plug in เมื่อประมาณ ค.ศ.1900 ก่อนหรือหลังนิดหน่อย (จะไม่ขอกล่าวระบบใช้แบตเตอรี่แห้ง) |
|||||||||||||
สำหรับในสมัยนั้นเริ่มแรกจะต้องใช้หม้อแปลงแยกต่างหาก แล้วจึงจะต่อกับระบบตัวคอนโทรล ซึ่งทำให้ต้องมีตัวควบคุมถึง 2 ตัว และมีขนาดใหญ่ |
|||||||||||||
ต่อมาไม่นานบริษัทต่างๆ
ทั้งในอเมริกา, ยุโรป, และเอเซีย ได้แข่งขันกันพัฒนาระบบควบคุม ทำให้อุปกรณ์
2 ตัวมาอยู่รวมกัน เป็นตัวเดียว และมีขนาดเล็กลง แต่การพัฒนก็ไม่หยุดอยู่แค่นั้น
ยังคงพัฒนาต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนถึงขนาดใส่ระบบเสียง และ Brake, Momentrum
มี Delay อยู่ในระบบควบคุม เมื่อประมาณปี 1970 ระบบนี้จะนิยมใช้กันมากในอเมริกา |
|||||||||||||
ส่วนระบบการต่อไฟเข้ารางก็เป็นแบบง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อนมากดังรูปที่แสดงให้เห็น โดยมีการนำสวิชต์ช่วยตัดต่อ เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ยุ่งยากมากนัก เช่นระบบ Return loop wiring และ Block ไฟต่างๆ ดังรูปที่แสดงให้ดูเช่นกัน | |||||||||||||
![]() |
![]() |
||||||||||||
การบล๊อกไฟ
สำหรับ layout 2 วง แบบง่ายๆ โดยใช้ตัวควบคุม 2 ตัว |
|||||||||||||
ปัจจุบันระบบนี้ก็ยังนิยมใช้กันอยู่ถึงจะดูว่าไม่เป็นไฮเทคก็่ตาม
แต่เพราะราคาถูก บำรุงรักษาง่าย หากสมาชิกท่านใดจะใช้ระบบ manual แบบนี้ก็ได้
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ แต่หากพอมีทุนทรัพย์นิดหน่อย ทางทีมงานขอแนะนำใช้ระบบอิเล็คโทรนิดดีกว่า
เพราะสะดวกไม่ต้องมาคอยสลับสวิชต์ทำให้อารมณ์ไม่ต่อเนื่อง
สำหรับในตอนที่ 5 จะนำเสนอเรื่องการดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์ขับเคลื่อนของรถไฟจำลอง หมายเหตุ หากสมาชิกท่านใดไม่เข้าใจเรื่องระบบไฟ
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ webmaster@trainsforthais.com
หรือที่ webboard |
|||||||||||||
ข้อมูลตอนที่ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7| ตอนพิเศษ(1) |(2) | (3) | (4) ข้อมูลจากหนังสือ
HO PRIMER |
|||||||||||||